รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-007
ชื่อพื้นเมือง : การะเกด (กรุงเทพมหานคร)
ชื่อสามัญ : Screwpine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Parkinson ex. Du Roi
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้น รากค้ำจุนที่โคนต้น ลำต้นแตกกิ่งก้านระดับสูงสีขาวอมน้ำตาลอ่อน ผิวมีหนามสั้น เต็มทั้งต้น ใบ เดี่ยว เรียวยาว ปลายแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน ขอบใบ เส้นกลางใบมีหนามแหลมแข็งตลอดความยาวของใบ ซ้อนกันแน่นที่ปลายกิ่ง ใบสีเขียวขาว ดอก ออกเป็นช่อแยกเพศ ดอกเพศผู้เป็นช่อดอก สีขาว มีใบประดับที่ดอกช่อย่อยมีกลิ่นหอมช่อออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว ถ้ามีดอกเพศเมียจะเรียกว่าเตยทะเล มีเฉพาะดอกตัวเมียไม่มีกลีบดอกห่อหุ้มด้วยใบประดับรูปร่างเรียวยาวสีขาวมีกลิ่นหอม ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้จะเรียกว่าลำเจียก สำหรับต้นที่เรียกว่าลำเจียกต้นจะมีเฉพาะดอกตัวผู้ไม่มีกลีบดอกเหมือนกัน ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยยุึดกันแน่นมองเหมือนเป็นผลเดี่ยว คล้ายผลสับปะรด ในระยะแรกผลมีสีขาวอมเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลีอง เมื่อแก่จะเป็นสีส้มหรือแดง เมล็ดรูปกระสวย เมล็ด รูปกระสวย
ประโยชน์ : ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ มีรสขมเล็กน้อย แก้ เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ และปลูกเป็นไม้ประดับ
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด