รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-036
ชื่อพื้นเมือง : ก๋าว (ภาคเหนือ),ทองกวาว
ชื่อสามัญ : Bastard Teak, Bengal Kino, Flame of the Forest
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub.
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8 - 15 ม. ลำต้นส่วนมากจะคดงอเป็นปุ่มปม มีเปลือกสีเทาคล้ำ เปลือกแตกระแหงเป็นร่องตื้นๆ กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา การแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบ ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบออกจากจุดปลายก้านเดียวกัน 3 ใบ ติดเรียงเวียนสลับ แน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย้อยรูปป้อม โคนเบี้ยว ปลายมน ลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกลางจะมีก้านใบยาวและใหญ่ที่สุด ดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ และตามปลายกิ่ง ส่วนฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกมีสีแสด ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่ มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน แยกเป็นอิสระ 1 อัน อีก 9 อัน โคนก้านเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผล เป็นฝักแบน โค้งงอเล็กน้อย ด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวถึง 14 ซม. มีขนคลุมแน่น
ประโยชน์ : สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา เมล็ด ใช้บำบัดพยาธิภายใน ลำต้น เนื้อไม้เมื่อแห้งมีน้ำหนักเบา และหดตัวมาก ใช้ทำกระดานกรุบ่อน้ำ ดอก ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า และใช้ขับปัสสาวะ
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด