รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-093
ชื่อพื้นเมือง : ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Devil Tree, White Cheesewood, Blackboard Tree, Devil's Bark
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R.Br.
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 25-40 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นชัน เปลือกนอกสีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา แตกเป็นสะเก็ดไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลืองมีเส้นสีแดงตามยาว ใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง แต่ละวงมี 5-10 ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 1-8 ซม. ยาว 5-32 ซม. โคนใบสอบรูปลิ่ม ปลายเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีน้ำตาลอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม เส้นใบขนานกัน 20-40 คู่ ก้านใบ ยาว 0.7-1.8 ซม. ดอก ขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีเขียวออกขาวหรือเขียวอมเหลือง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ผล สีเขียวมัน ออกเป็นคู่ห้อยลง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มม. ยาว 21-56 ซม. ผลแก่แตกตามรอยประสานเป็น 2 แฉก เมล็ด รูปขอบขนาน ยาว 5-7 มม. มีขนสีน้ำตาลทองยาวอ่อนนุ่มติดกันเป็นกระจุกที่ปลายทั้ง 2 ด้าน
ประโยชน์ : สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา ใบแก้ไข้หวัด รากต้มจิบผายลม ยางใช้ทาแผลแก้เน่าเปื่อย เนื้อไม้แก้ใช้ทำโต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ประดับเครื่องเรือน
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด