รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-102
ชื่อพื้นเมือง : หูกวาง (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Indian Almond,
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างในแนวราบ แตกกิ่งรอบลำต้น ตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบมีสีเทา ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-25 ซม. ปลายใบ แหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนสอบแคบ มีต่อม 1 คู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบน สีเขียวเข้ม เป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน ดอก สีขาวนวล ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อดอกเป็นแท่งยาว 8-12 ซม. โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ดอกขนาดเล็ก ผล ผลสด รูปไข่หรือรูปรีป้อม แบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. สีแดงอม เหลือง เมื่อแก่สีดำคล้ำ มีเมล็ดเดียว และแข็ง
ประโยชน์ : อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา อาหาร,สมุนไพร,ไม้ดอกไม้ประดับ เปลือกและผล มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ด รับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายอัลมอนด์
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด