รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-120
ชื่อพื้นเมือง : คำมอกหลวง (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Golden Gardenia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia sootepensis Hutch.
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้น ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กหรือขนาดกลาง สูง 5 -10 ม. เรือนยอดแผ่กว้าง กลม ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกต้นแข็งและหนา สีเทา ค่อนข้างเรียบ สามารถหลุดออกเป็นแผ่น มีขนนุ่มที่กิ่งก้าน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 8 -15 ซม. ยาว 10 - 30 ซม. โคนใบมนหรือรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่ม ใบค่อนข้างหนา ยอดของใบอ่อนมีหูใบสีเหลืองหุ้มไว้ หลุดร่วงง่าย หูใบนี้จะไม่ร่วงแต่ติดอยู่ระหว่างก้านใบโดยเชื่อมเป็นวงรอบกิ่ง ก้านใบยาว 0.5 – 1.0 ซม. ดอก เดี่ยว สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกตามซอกใบ ประกอบด้วยวงกลีบเลี้ยงปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกปลายแหลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแฉก 5 แฉก ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่น ยกเว้นกลีบดอกด้านใน กลีบดอกหนา ขอบบิดและม้วน ดอกแรกบานมีสีเหลืองนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มเมื่อใกล้โรย เกสรเพศผู้จำนวน 5 อันโผล่เกือบพ้นหลอดกลีบดอก ผล สด รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2 – 3 ซม. ยาว 3 – 5 ซม. มีสันตื้น 5 สัน ผลสุกสีเหลือง มีเนื้อสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
ประโยชน์ : อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา เมล็ด เมื่อต้มกับน้ำสะอาดจะเกิดฟองสามารถนำไปใช้เป็นแชมพูสระผม ช่วยให้ผลนิ่มและลื่น และช่วยกำจัดเหา ผล ผลสุกสามารถรับประทานได้มีรสชาติ เปรี้ยว ลำต้น ใช้ทำของเล่นเป่าให้เกิดสียงเรียกว่า “โหวด”
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด