รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-020
ชื่อพื้นเมือง : สำสา (ภาคเหนือ),จามจุรี (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : East Indian Walnut, Rain Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia saman (Jacq.) Merr.
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้างคล้ายร่ม โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกตามยาวขรุขระไม่เป็นระเบียบ ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้าม แกนกลางใบประกอบ ยาว 10-18 ซม. ก้านใบประกอบยาว 3-5 ซม. ใบประกอบ แยกแขนงตรงกันข้าม 2-5 คู่ บนแขนงเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายมน มักเว้าตื้นหรือมีติ่งสั้น โคนเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นหลังใบเรียบ ท้องใบมีขนนุ่ม ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อยเรียงตรงข้าม 2-10 คู่ คู่ที่อยู่ปลายบนมีขนาดใหญ่ที่สุดและลดหลั่นลงไปจนถึงคู่ล่างมีขนาดเล็กสุด มีความกว้าง 0.6-4.0 ซม. ยาว 1.5-6.0 ซม. ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3 ซม. ช่อดอกรวมบานเต็มที่กว้าง 5-6 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอก ช่อดอกแบบกระจุกแน่น ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อตั้งขึ้น มีดอกจำนวนมาก ดอกวงนอกมีก้านสั้นๆ ดอกวงในไม่มีก้าน ก้านช่อดอกยาว 5-9 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวอมเขียว 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปแตร 1.0-1.2 ซม. มีเกสรเพศผู้สีชมพูจำนวนมาก ติดกับโคนดอก ยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่แบนยาว ผล เป็นฝักแห้ง รูปขอบขนาน สีน้ำตาลดำ กว้าง 1.5-2.4 ซม. ยาว 15-20 ซม. คอดเล็กน้อยเป็นตอนๆระหว่างเมล็ด เมล็ด แบนสีน้ำตาลเข้มปนดำเป็นมัน กว้าง 6 มม. ยาว 10 มม.
ประโยชน์ : อาหาร,สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้ เปลือกต้น ป่นละเอียดเป็นยาสมานแผล และเมล็ด รักษาอาการบิด ท้องเสีย เนื้อไม้ ใช้ในงานแกะสลัก ทำเครื่องใช้ เครื่องเรือนต่างๆ ใบ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ด แก้โรคผิวหนังเปลือกสมานแผลในปากคอ แก้ท้องร่วง ฝักแก่ เป็นอาหารสัตว์
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด