รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-044
ชื่อพื้นเมือง : ดู่ป่า (ภาคเหนือ),ประดู่ป่า
ชื่อสามัญ : Burma padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. ใบ ใบประกอบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมี 3-13 คู่เรียงสลับ ใบรูปไข่ หรือขอบขนาน โคนใบรูปลิ่มถึงกลม ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะแยกแขนง ออกตามชอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปถั่ว เกสรเพศผู้ 10 อัน ผล ผลเป็นฝักแบนคล้ายโล่ มีปีกเป็นแผ่นกลม เมล็ด 1-2 เมล็ด รูปทรงรี
ประโยชน์ : สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา เนื้อไม้ มีสีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิด เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด