รหัสพรรณไม้: 7-51000-003-119
ชื่อพื้นเมือง : ชมพูภูพิงค์ (ภาคเหนือ), นางพญาเสือโคร่ง (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Wild Himalayan Cherry, Sour cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus cerasoides D.Don
ลักษณะวิสัย :
ลักษณะเด่นของพืช : ลำต้น ไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 15 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลปนแดงถึงสีน้ำตาลอมขาว มีช่องอากาศขนาดใหญ่ค่อนข้างกลมแผ่กระจายอยู่ห่าง ๆ ทั่วลำต้น เปลือกเรียบเป็นมัน จะหลุดลอกออกเป็นแถบตามขวาง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนละเอียด ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับตรงกันข้าม หูใบค่อนข้างโต แยกเป็นแฉกและหลุดร่วงง่าย รูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบจักเป็นซี่ฟันละเอียด ผิวใบย่นโดยเฉพาะเมื่อยังอ่อน ใบสีเขียวอมเหลืองหรืออมส้ม เมื่อแก่จะย่นน้อยลงและมีสีเขียวจัด ก้านใบยาว 0.8-1.5 ซม.ค่อนข้างกลมเกลี้ยง เส้นใบข้าง 8-14 คู่ เรียงตัวขนานกันในแต่ละข้าง แต่ปลายจรดกันก่อนถึงขอบใบ ดอก ออกเป็นช่อกระจุกจากตาดอกบริเวณกิ่งข้างขณะผลัดใบ ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ก้านดอกย่อยสีเขียว ค่อนข้างกลม ยาว 0.7-2.0 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีชมพู โคนเชื่อมติดกันปลายแยกเป็นแฉกแหลม กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เป็นแผ่นรูปไข่ ปลายมน โคนเรียวเป็นสีชมพูปนแดงเข้ม เกสรเพศผู้จำนวนมากสีชมพูปนแดงเข้ม ก้านเกสรมีโคนเชื่อมติดกับฐานกลีบดอกเป็นวง ยาวกว่ากลีบดอกเล็กน้อย สีขาว อับเรณูสีขาวอมเหลือง โตกว่าก้านเกสรเล็กน้อย รังไข่ 1 อัน อยู่ต่ำกว่าฐานวงกลีบรวม ผิวเกลี้ยง ภายในมี 1 ช่อง และออวุล 1 ใบ ผล ผลรูปกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.5 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีแดงสด เมล็ดเดียว เมล็ด เมล็ดแข็ง
ประโยชน์ : สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา เปลือกต้น เป็นยาแก้ไอ เลือดกำเดาไหล ลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ตำคั้นน้ำทาหรือพอก แก้ข้อแพลง ฟกช้ำ ปวดข้อ ราก ตำหรือบด ทำเป็นยาพอกแก้รอยฟกช้ำ ปวดตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ เมล็ด น้ำจากเมล็ดแก้โรคนิ่ว ใช้ในอุตสาหกรรมเภสัช
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ดอก/ช่อดอก
ผล/เมล็ด